ข้อมูลข่าวสาร

  
   การเสียหายแบบแอบแฝง
     ของเสียที่เกิดจากอาการเสียแบบนี้ยากที่จะตรวจสอบพบ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความเสียหายจาก
  ESD ลักษณะนี้จะทำงานได้ต่ำกว่ามาตราฐาน แต่ก็ยังทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้ อย่างไรก็ตามอายุงานของ
  อุปกรณ์ชิ้นนั้นจะลดลงอย่างมากมาย และจะเสียหายในไม่ช้า เมื่ออุปกรณ์ชิ้นนั้นถูกประกอบเข้าเป็นอุปกรณ์
  สำเร็จ ความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้มีมูลค่าสูงมาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูงมาก และ
  ในบางงานที่อุปกรณ์เหล่านี้ ไปเป็นชิ้นส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายหรืองานที่เสี่ยงอันตราย
  เช่น อุปกรณ์ของอากาศยาน ความเสียหายก็สูงขึ้นเป็นทวีคูณ
  
   ปรากฏการณ์ ESD แบบพื้นฐานและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย
         1. การประทุของประจุไฟฟ้าสถิตสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
         2. การประทุไฟฟ้าสถิตจากอุปกรณ์
         3. การประทุอันเกิดจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
  
   ความเปราะบางของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไฟฟ้าสถิตของอุปกรณ์ และการป้องกันที่จำเป็น
         วิธีการทดสอบที่อาศัยรูปแบบของเหตุการณ์ ESD จะช่วยให้เรานิยามความเปราะบางของอุปกรณ์
  อิเล็กทรอนิกส์ต่อ ESD อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างถูกทำลายได้อย่างง่าย จากการประทุของประจุ
  ในระหว่างขบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันอุปกรณ์บางอย่าง อาจเสียหายได้ง่ายกว่าเมื่อเกี่ยวข้อง
  กับบุคคลหรือบุคลากร การนิยาม ความเปราะบางต่อ ESD ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นขั้นตอนแรก ในการ
  ระบุ หรือบ่งบอกหามาตราการ ในการป้องกัน ปัญหา ESD มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนไม่น้อย มีความ
  เปราะบางต่อ ESD ในระดับโวลต์เตท ต่ำๆ และก็มีไม่น้อย เลยที่เปราะบางต่อโวลต์เตทระดับ 100 โวลต์
  ชิ้นส่วนของ ดิสไดรว์ มีความเปราะบางต่อ ESD ในระดับที่ต่ำกว่า 10 โวลต์ แนวโน้มของการออกแบบ
  ผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วงจรขนาดเล็ก ที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำใหระดับ ความ เปราะบางต่อ ESD สูงขึ้น
  หรือทนต่อโวลต์เพียงไม่กี่โวลต์ ตารางที่ 4 แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางต่อESD ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
 
   ประเภทของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์    อัตราทนแรงดันจาก ESD (Volts)
   VMOS                       30-1,200
   Mosfet, GaAsfet, EPROM                        100-300
   JFET                     150-7,000
   OP-AMP                     190-2,500
   Schottky Diodes                     300-2,500
   Film Resistors                     300-3,000
   Schottky TTL                   1,000-2,500
                  ตารางที่ 4  แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางต่อ ESD ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ
  
  บทสรุป
         โดยทั่วไปวัสดุทุกอย่าง สามารถทำให้มีประจุแบบไทรโบอิเล็กทริคได้ ระดับของประจุขึ้นกับลักษณะของ
  วัตถุ เนื้อวัตถุ ความเร็วของการสัมผัสและการแยก ความชื้น และองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายอย่าง การประทุ ของ
  ไฟฟ้าสถิตอาจทำให้เกิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายทันที (catastrophic) หรือเสียหายแบบแอบแฝง
   (Latent failures) การประทุ ของประจุไฟฟ้าสถิตเกิดได้ทุกส่วนของขบวนการผลิต ขบวนการทดสอบ การขนส่ง
  การขนย้าย การจับต้องต่างๆ หรือ แม้กระทั่งในระหว่างที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น กำลังถูกใช้งาน ความ
  เสียหายอาจเกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับประจุเข้ามา หรือมีการถ่ายเทประจุออกจากตัวอุปกรณ์นั้นเอง
  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความไวหรือ ความเปราะบางต่อ ESD ต่างกันไป การป้องกันปัญหาไฟฟ้าสถิต
  ทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มจากการที่เราเข้าใจเรื่องไฟฟ้าสถิตเป็นอย่างดี เมื่อเราเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้
  เราก็สามารถที่จะพัฒนา วิธีการป้องกันและ ควบคุมไฟฟ้าสถิตได้ดีมากยิ่งขึ้น
  
  << 1 2 3 4 5 6 7 >>
Customer Ref.