ระดับหรือความมากน้อยของประจุมีหน่วยเป็น คูลอมบ์ (coulombs)

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปเราพูดถึงศักดาไฟฟ้าสถิตบนวัสดุอยู่ในรูปหน่วย โวลต์เตจ (voltage) หรือเรียกกันทั่วไปว่า โวลต์จริงๆแล้วขบวนการที่วัสดุสัมผัส และแยกออกจากกัน อิเล็กตรอนมีการเคลื่อนย้าย เป็นกลไกที่มีความซับซ้อนมากกว่าที่อธิบายมาแล้วมาก จำนวนประจุที่เกิดจากขบวนการ ไทรโบอิเล็กทริก ขึ้นกับขนาดของพื้นที่สัมผัส ความเร็วของการแยกออกจากกัน ความชื้นสัมพัทธ (relative humidity) และองค์ประกอบอื่นอีก

หลายอย่าง ทันทีที่มีประจุเกิดขึ้นบนวัสดุ ก็ถือได้ว่ามีประจุไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้น ประจุเหล่านี้จะเคลื่อนย้ายจากวัสดุไปสู่ที่อื่นเรียกว่าเกิดกระบวนการประทุ (discharge) ของไฟฟ้าสถิต หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าเหตุการณ์ ESD ประจุไฟฟ้าสถิตจะเกิดขึ้นบนวัสดุในขบวนการอื่นด้วย เช่น การเหนี่ยวนำ (induction) การระดม ไอออนใส่ (ion bombardment) หรือการที่วัสดุอย่างหนึ่งไปสัมผัสกับวัสดุที่มีประจุ อย่างไรก็ตามการประจุแบบไทรโบอิเล็กทริก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยที่สุด

คุณสมบัติของวัสดุ และวัสดุต่างกันมีผลต่อไฟฟ้าสถิตอย่างไร

วัสดุทุกอย่างไม่ว่าเป็น น้ำ, เม็ดฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศก็จะเกิดประจุแบบไทรโบอิเล็กทริกได้ ประจุจะเกิดมากหรือน้อย เกิดแล้วไปอยู่ที่ใด เกิดเร็วเท่าไร เป็นสิ่งที่ขึ้นกับคุณลักษณะทางไฟฟ้าของวัสดุนั้นๆ

ฉนวนไฟฟ้า

วัสดุที่กันหรือจำกัดการไหลหรือเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนไปตามผิวหรือผ่านเนื้อในของวัสดุเรียกว่าฉนวนซึ่งมีความ ต้านทานทางไฟฟ้าสูงมาก ปริมาณประจุไฟฟ้าก็สามารถเกิดได้บนผิวของฉนวนเช่นกัน เพราะว่าฉนวนไม่ยอมให้อิเล็กตรอนไหลผ่านได้ง่ายๆ ทั้งประจุบวกและประจุลบก็สามารถอยู่บนผิวฉนวนได้ในเวลาเดียวกัน แม้ว่าอยู่คนละจุด จำนวนอิเล็กตรอนมากๆที่อยู่บนผิวที่เป็นประจุลบ ณ จุดใดจุดหนึ่ง อาจวิ่งเข้าไปหาจุดที่เป็นบวกเพื่อ ทำให้เป็นกลางอย่างไรก็ตามการไหลของอิเล็กตรอนเป็นไปได้ยากมากบนผิวที่เป็นฉนวนเพราะฉนั้นทั้งประจุบวก และลบอาจยังคงอยู่บนวัสดุนั้นได้เป็นเวลานานแม้ว่าจะอยู่คนละจุด

วัสดุตัวนำทางไฟฟ้า

ตัวนำไฟฟ้าจะปล่อยให้อิเล็กตรอนวิ่งผ่านพื้นผิวหรือในตัวได้ง่ายเพราะว่ามีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำเมื่อตัวนำไฟฟ้าตัวหนึ่งมีประจุ ประจุเหล่านั้นจะกระจัดกระจายไปอยู่ทั่วผิวของวัสดุตัวนำนั้น ถ้าวัสดุตัวนำนั้นไปสัมผัสกับวัสดุอื่น อิเล็กตรอนจะไหลผ่านพื้นของวัสดุที่เป็นตัวนำนั้นไปสู่วัสดุอีกชิ้นได้อย่างง่ายดาย ถ้าตัวนำตัวที่สองแตะหรือถูกต่อไปที่ดินหรือโลก อิเล็กตรอนจะไหลไปที่ดินหรือกราวด์แล้วประจุที่เกินบนตัวนำนั้นจะถูกทำให้เป็นวัสดุที่เป็นกลาง (neutralized) ประจุไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นในขบวนการไทรโบอิเล็กทริกบนวัสดุตัวนำในลักษณะเดียวกับที่ เกิดบนวัสดุที่เป็นฉนวนตราบใดที่วัสดุที่เป็นตัวนำถูกแยกไม่ให้สัมผัสกับตัวนำอื่นหรือกราวด์ประจุไฟฟ้านั้นก็ยังคงค้างอยู่บนวัสดุที่เป็นตัวนำตัวนั้น ถ้าวัสดุที่เป็นตัวนำตัวนั้นถูกกราวด์ ประจุก็จะลงกราวด์ได้อย่างง่ายดาย ถ้าตัวนำที่มีประจุสัมผัส หรือ เข้าใกล้ตัวนำอื่น ประจุ ก็จะไหลหรือถ่ายเทระหว่างตัวนำทั้งสอง